สมุนไพรเชียด

สมุนไพรเชียด

เชียด Cinnamomum iners Blume
บางถิ่นเรียกว่า เชียด มหาปราบตัวผู้ อบเชย อบเชยต้น (ภาคกลาง) กระแจะโมง กะเชียด กะทังนั้น (ยะลา) กะดังงา (กาญจนบุรี) กะพังหัน โกเล่ เนอม้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เขียด เคียด เฉียด ชะนุต้น (ภาคใต้) ดิ๊กซี่สอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) บอกคอก (ลำปาง) ฝักดาบ (พิษณุโลก) พญาปราบ (นครราชสีมา) สะวง (ปราจีนบุรี)

ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-20 ม. ทรงพุ่มกลม หรือ รูปเจดีย์ต่ำ ๆ ทึบ เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ค่อนข้างเรียบ เกลี้ยง เปลือกและใบมีกลิ่นหอมอบเชย (cinnamon)
ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปขอบขนาน กว้าง 2.5-7.5 ซม. ยาว 7.5-2.5 ซม. เนื้อใบ หนา เกลี้ยง และกรอ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้นยาวตลอดจนถึงปลายใบ ด้านล่างเป็นคราบขาว ๆ ก้านใบยาว 0.5 ซม.
ดอก มีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อน ออกเป็นช่อแบบกระจายที่ปลายกิ่ง ยาว 10-25 ซม. ดอกมีกลิ่นเหม็น ผล มีขนาดเล็ก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 ซม. แข็ง ตามผิวมีคราบขาว ๆ แต่ละผลมีเมล็ดเดียว ฐานรองรับผลเป็นรูปถ้วย


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นกระจายทั่วไปในป่าดิบ


สรรพคุณ

ราก พบ essential oil ที่ประกอบด้วย eugenol safrol, benzaldehyde และ terpene
ต้น เปลือกต้น พบ essential oil ประมาณ 0.5% ประกอบด้วย eugenol, terpene และ cinnamic aldehyde

 

รูปภาพจาก:dnp.go.th,research.yru.ac.th,สมุนไพร